วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

10 ผักผลไม้ ต้านโรคเสริมสุขภาพฤดูหนาว


 นี่ก็ใกล้เข้าสู่หน้าหนาวแล้ว เราคงต้องหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรงเสมอๆ เพราะอากาศหนาวอาจจะให้เราเป็นหวัดได้ วันนี้เรามีผักผลไม้ 10 ชนิดที่สามารถบำรุงร่างกายในช่วงหน้าหนาวได้ดี
           1. มะเขือเทศ ช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ แถมผิวพรรณสดใสอ่อนเยาว์อีกด้วย
           2. กระเทียมสด ลดความดันโลหิตสูง ป้องกันเลือดจับตัวเป็ยก้อน
           3. หอมหัวใหญ่ ป้องกันโรคภูมิแพ้อาการหอบหืด และอาการแพ้ต่างๆได้ดี
           4. จมูกข้าวสาลี ถ้าเราเติมจมูกข้าวสาลีลงในโยเกิร์ตหรือธัญพืชกรอบ แล้วรับประทานเป็นมื้อเช้าเป็นประจำ ผิวหน้าก็จะสดใสไร้สิว
           5. มันเทศ ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
           6. ถั่วดำ มีสารต้านโลหิตจาง มีวิตามินบี โปรตีนหลายชนิด
           7. บรอคโคลี่ ในดอกตูมของบรอคโคลี่ มีสารป้องกันมะเร็งมากกว่าต้นแก่ 30-50 เท่า
           8. สตอเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่ดีที่สุด ในการต้านอนุมูลอิสระ ให้พลังงานต่ำ วิตามินสูง
           9. โยเกิิร์ต ช่วยลดการติดเชื้อในช่องคลอด ลอการอ่อนเพลีย ทำให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส
           10. ถั่วเหลือง ต้านการเกิดมะเร็งเต้านม ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งมดลูก

           ที่มา : เว็บไซต์แนวหน้า
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ขอขอบคุณสาระดี ๆ จากเว็บไซต์ http://www.thaihealth.or.th/

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพทำง่าย

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพทำง่าย
"ผัดผักแก้วฟูกรอบ"


ส่วนผสม ผัดผักกาดแก้ว
ผักกาดแก้ว (แกะกาบแล้วชั่ง) 200        กรัม

กระเทียม (ปอกเปลือก แกะกลีบ) 1 หัวย่อมๆ

ผงปรุงรส  1   ช้อนชา

น้ำมันสำหรับทอด  1/2-3/4  ถ้วย (แล้วแต่ว่าจะชอบให้มันขนาดไหน)

พริกแดงตามชอบ                                          

กุ้งแห้งกรอบตามชอบ

ส่วนผสมซอส
น้ำมันหอย    1 1/2      ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วจีน        1             ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย   1/4       ช้อนชา น้ำเปล่า       2             ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ ผัดผักกาดแก้ว
ผสมส่วนผสมซอสในถ้วยเล็กๆ ละลายเข้ากัน
ทอดกุ้งแห้งให้กรอบ ตำหยาบๆ เอาไปคั่วอีกครั้งให้กรอบชนิดที่เคี้ยวแล้วเบาฟัน ต้องใช้กุ้งแห้งดีๆ นะคะ กุ้งแห้งที่แข็งกระด้างทำอย่างไรก็ไม่กรอบ ใส่ถ้วย พักไว้ให้เย็น
ล้างผักให้สะอาด ถ้ากาบใหญ่ให้แบ่งเป็น 2 ชิ้น สงผักใส่ชาม มีน้ำติดบ้างเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร
เทซอสลงบนผัก โปรยผงปรุงรสไปทั่วๆ
ตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อนจัดควันโขมง ใส่กระเทียมและพริกลงไปพร้อมกัน ใช้ตะหลิวคน แค่ครึ่งอึดใจทำขั้นต่อไปได้เลย
ขั้นตอนนี้สำคัญนะคะ ต้องทำตามนี้ผักถึงจะฟูกรอบ คือต้องเทชามให้ของเหลวลงไปเจอน้ำมันร้อนๆ ก่อนแล้วถึงจะใส่ผักตามลงไป เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน คลุก 2-3 ทีผักก็สุก
ใช้ตะแกรงและตะหลิวช่วยกันตักผักใส่จาน ทิ้งน้ำไปทั้งหมด จัดผักให้สวยโรยหน้าด้วยกุ้งแห้งทอดกรอบ
              

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ผลไม้-อาหารดำ 10 อย่างเพื่อสุขภาพ


           ขอแนะนำเคล็ดลับการกินเพื่อสุขภาพ คืออาหารหรือผลไม้ ที่มีดำ อย่ามองว่าของดำๆ จะมีหน้าตาสีสันที่ไม่น่ารับประทาน เพราะอาหารสีดำเมื่อนำมาปรุงร่วมกับอาหารอื่น ๆ ก็ดูสวยงามและน่ากินได้ ที่สำคัญเมื่อคุณได้อ่านประโยชน์ของอาหารสีดำแล้ว ก็จะทราบว่าสิ่งเหล่านี้ มีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพมากมายเลยทีเดียว


          1.    แบล็กเบอร์รี  อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารสูง ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจหลอดเลือดและมะเร็งลำไส้ได้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจน


2.    องุ่นดำ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต และช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ด้วย และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ช่วยชะลอความชรา ทำให้ผิวพรรณเปล่ง ปลั่งสดใส


3.    ถั่วดำ ในบรรดาถั่วด้วยกัน ถั่วดำถือว่าเป็นถั่วที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เป็นแหล่งโปรตีน เส้นใยอาหาร และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีมากอีกด้วย ถั่วดำช่วยให้ระบบทางเดินอาหารดี ช่วยสร้างสมดุลของน้ำตาลในเลือด ไม่ให้เพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็ว


4.    งาดำ อุดมไปด้วยวิตามินบีที่ช่วยบำรุงประสาท ดังนั้นการกินงาเป็นประจำ จะทำให้หลับสบายไม่อ่อนเพลีย ไม่เป็นโรคเหน็บชาหรืออาการปวดเส้นตามแขนขา ช่วยให้เจริญอาหาร และท้องไม่ผูก


5.    พริกไทยดำ มีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำให้ลิ้นของผู้สูงอายุรับรสได้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้ ลดการเกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร


6.    ข้าวเหนียวดำ   อุดมไปด้วยวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา บี 1 บี 2 บี 6 ช่วยบำรุงระบบประสาทส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และวิตามินอี ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยในการหมุนเวียนโลหิต


7.    ข้าวกล้องสีนิล  มีเส้นใยอาหารสูง และมีน้ำตาลต่ำ เปลี่ยนจากแป้งเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดช้ากว่าการกินข้าวขัดขาว จึงส่งผลให้อ้วนน้อยกว่า นอกจากนี้ยังช่วยต้านมะเร็ง และลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ


8.    ไก่ดำ  เป็นอาหารบำรุงเลือดสำหรับผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์และคนสูงอายุ มีประโยชน์ในแง่ช่วยขับฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) ได้ ความดำของไก่ดำนั้นเกิดจากสาร ไมอานินที่มีสรรพคุณทางยา เนื้อไก่ดำยังมีไขมันตํ่ามากกว่าเนื้อไก่ทั่วไป มีธาตุเหล็กสูงช่วยบำรุงเลือด ส่วนมากนิยมนำไปตุ๋นร่วมกับเครื่องยาจีน จะช่วยบำรุงสมอง เพิ่มสมรรถนะการทำงานของร่างกายและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย


9.    เบอร์เกอร์ดำ เส้นพาสต้าดำ อาหารพวกนี้ไม่ได้เป็นสีดำตามธรรมชาติค่ะ แต่ผ่านการปรุงให้เป็นสีดำด้วยน้ำหมึกที่อยู่ในตัวปลาหมึก และเจ้าน้ำหมึกที่ว่าก็มีประโยชน์นะคะ เพราะจะมีโปรตีน ไขมันและเกลือแร่ (โดยเฉพาะเหล็ก) ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ


10.      เฉาก๊วย ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วยลดไข้แก้ตัวร้อน เป็นอาหารที่มีแคลอรี่ ต่ำ มีเส้นใยอาหาร และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้หากนำต้นเฉาก๊วยมาต้มให้เดือดแล้วนำน้ำเฉาก๊วยมาดื่มเป็นประจำจะช่วยลดอาการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

"อาหาร...ยาวิเศษเพิ่มพลังสมอง"

 “ สมอง ” กองบัญชาการของร่างกาย


    “ สมอง ” เป็นอวัยวะที่มีโครงสร้างซับซ้อน ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในแทบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับรู้กลิ่นและรส เป็นต้น นอกจากนี้สมองยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก การเรียนรู้ และความจำ สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาท (neuron) จำนวนมากกว่าแสนล้านเซลล์ที่มีแขนงประสาท (neuronal processes) งอกออกมา ประสานกันเป็นร่างแหเพื่อใช้ในการติดต่อและส่งสัญญาณประสาท โดยมีอัตราความเร็วของการส่งสัญญาณตั้งแต่ 0.5-120 เมตร/วินาที เชื่อว่าเซลล์ประสาทจะมีจำนวนคงที่เมื่อแรกคลอด แต่การงอกของแขนงประสาทจะเพิ่มขึ้นได้หลังจากมีการกระตุ้นจากการเรียนรู้และได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ทำให้สามารถส่งสัญญาณประสาทได้เร็วขึ้น และมีการติดต่อประสานงานที่ต่อเนื่องครอบคลุม สมองจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความฉลาดและสติปัญญาได้

 “ สารสื่อประสาท ” ปัจจัยที่ช่วยการทำงานของสมอง


    เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย สมองต้องการสารอาหารเพื่อเป็นพลังงานและใช้ในการทำงาน การติดต่อกันระหว่างเซลล์สมองยังต้องการสารเคมีที่เรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) อย่างน้อย 3 ชนิด ที่จะทำให้การส่งข้อมูลของสมองเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ สารสื่อประสาทเหล่านี้สร้างมาจากสารอาหารต่างๆ ที่รับประทาน โดยมีวิตามินและแร่ธาตุช่วยในกระบวนการ...ได้แก่

             อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ประสาท ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสร้างความจำด้วย โดยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) จะมีอะซิทิลโคลีนในสมองน้อยกว่าคนปกติ อะซิทิลโคลีนมีมากในอาหาร จำพวกไข่แดง ถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ตับ เนื้อสัตว์ต่างๆ ปลา นม เนยแข็ง และผักโดยเฉพาะ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี เป็นต้น

              โดปามีน (Dopamine) เกี่ยวข้องกับสมาธิ ความสนใจ และการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็มีผลต่อความรู้สึกตื่นตัว โดยจะเห็นได้จากผู้ที่เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) จะมีโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ โดปามีนมีมากในอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนทุกชนิด เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ถั่วต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 60-80 กรัม จะช่วยให้ตื่นตัว และมีพลังได้

                ซีโรโตนิน (Serotonin) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และควบคุมวงจรการนอนหลับ โดยซีโรโตนินจะทำงานเฉพาะในบริเวณสมองส่วนกลาง (brain rewards system) เมื่อเกิดความรู้สึกพอใจ พบว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีระดับของซีโรโตนินในสมองบริเวณนี้น้อยกว่าปกติ สารอาหารคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว พาสต้า ผักประเภทหัว ธัญพืช และขนมปัง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมทริปโตแฟน (tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซีโรโตนินในสมอง โดยพบว่าภายใน 30 นาทีหลังรับประทานอาหารประเภทดังกล่าวจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสงบได้นานหลายชั่วโมง


 สมองและความจำดี ..... เริ่มต้นที่ “ อาหาร ”


    สมองต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการจดจำข้อมูลต่างๆ เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตแล้ว ในระยะเริ่มแรกเด็กจะขาดสมาธิ และเลี้ยงยาก ต่อมาในระยะยาวจะทำให้พัฒนาการทางด้านสติปัญญาช้ากว่าเด็กปกติ หรืออาจปัญญาอ่อนได้ ขึ้นกับความรุนแรงของการขาดสารอาหาร สมองต้องการอาหารดังนี้...

                     เนื้อสัตว์   เป็นแหล่งของโปรตีนที่เป็นโครงสร้างของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งสมอง นอกจากนี้ยังใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทที่ช่วยในการทำงานของสมอง มีกรดอะมิโน 2 ชนิดในเนื้อสัตว์ที่มีผลต่อการสร้างสารสื่อประสาท คือ ทริปโตแฟน ( tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร เพื่อนำไปสร้างสารสื่อประสาทซีโรโตนิน และไทโรซีน (tyrosine) ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นมาเองได้ โดยจะนำไปใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทโดปามีน

                      อาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ และมีไทโรซีนสูง   เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง ตื่นตัว จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารในช่วงเช้า และกลางวัน ส่วนอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง มีโปรตีนต่ำ และมีทริปโตแฟนสูง เช่น ข้าว ถั่วเล็ดแห้งต่างๆ งา และขนมหวาน จะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดี จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารในมื้อเย็น ที่ร่างกายต้องการพักผ่อนนอนหลับอย่างสุขสงบ

                       แป้งและน้ำตาล   เมื่อถูกย่อยจะได้กลูโคสที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสมอง จึงควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้ระดับของสารสื่อประสาทไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดอาการมึนหัว ง่วงนอน สับสน และอาจถึงกับเป็นลม ชัก หมดสติได้ แหล่งของแป้งและน้ำตาลควรมาจากข้าว ธัญพืชชนิดต่างๆ

                        ผักและผลไม้   ที่มีกากใยมากกว่าขนมหวานเพราะมีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เนื่องจากใยอาหารจะช่วยในการดูดซึมน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงเร็วเกินไป สำหรับอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมาก หลังจากรับประทานจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะหลั่งอินซูลินออกมามากเพื่อรักษาระดับน้ำตาล และอาจทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว จนมีผลกับการทำงานของสมองได้

   ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน จึงไม่ควรให้ลูกรับประทานขนมหวานมากเกินไป เพราะจะมีผลต่อสมาธิในการเรียน ความจำ และการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะงอแงและเลี้ยงยาก                   

                     ไขมัน   ส่วนประกอบของสมองมากกว่าร้อยละ 60 เป็นไขมันที่หุ้มเส้นใยประสาท ทำให้เพิ่มความเร็วในการขนส่งกระแสประสาทในสมอง และช่วยเพิ่มความจำด้วย กรดไขมันโอเมก้า- 3 ที่ประกอบด้วย EPA (eicosapentaenoic acid) และ DHA (docosahexaenoic acid) มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยพบว่าผู้ที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า- 3 ไม่เพียงพอจะทำให้มีอาการซึมเศร้า ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ลดลง IQ ต่ำ และอาจมีอาการทางจิตอื่นๆ ในทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโตจะทำให้สมองมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ โดยมีขนาดเล็ก และมีผลต่อการมองเห็น กรดไขมันโอเมก้า- 3 มีมากในปลาทะเลทุกชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล เป็นต้น


   ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีองค์ประกอบของไขมันที่ผ่านกระบวนการมาแล้ว (hydrogenated) เนื่องจากไขมันดังกล่าวได้มีการปรับโครงสร้าง เมื่อเข้าสู่สมองจะมีผลกระทบต่อการทำงาน และการส่งกระแสประสาทของเซลล์สมอง นอกจากนี้ไขมันที่ผ่านกระบวนการนี้ยังมีลักษณะเป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกาะและอุดตันเส้นเลือดได้ โดยหากไปอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะทำให้สมองบริเวณนั้นตาย และเป็นอันตรายถึงชีวิต



   ผักและผลไม้ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง โดยวิตามินบี ชนิดต่างๆ จะช่วยในกระบวนการสร้างพลังงาน วิตามินเอ ซี และอี จะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของสมองต่อสารต่างๆ ที่เป็นมลพิษ โซเดียม โปแทสเซียม และแคลเซียมช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและกระบวนการเก็บความจำ เหล็กมีผลต่อสมาธิและการเรียนรู้ พบว่าเด็กที่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอจะมีผลการเรียนที่ดี และสนใจอยู่กับบทเรียนได้นานขึ้น


 อาหารกับโรคสมองเสื่อม (Alzheimer's disease)



   ถึงแม้ว่าโรคสมองเสื่อมจะยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบัน แต่สามารถป้องกันหรือชะลอสภาวะการทำงานของสมองไม่ให้เสื่อมลงไปกว่าเดิมได้ โดยวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การหลีกเลี่ยงจากมลพิษ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง มีงานวิจัยมากมายพบว่าโรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ด้วยอาหารหลายชนิด เช่น ผักและผลไม้ที่มีวิตามินอี วิตามินซี ซึ่งมีอยู่มากในผักและผลไม้จำพวกมะเขือเทศ แครอท และ ผักขม ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ ทำให้ช่วยป้องกันเซลล์สมองจากการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ (free radicals) นอกจากนี้แล้ว DHA ที่มีในไขมันจากปลาทะเล ก็ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของเซลล์สมองได้




วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

6 โรคที่พึงระวังในฤดูหนาว

6 โรคที่พึงระวังในฤดูหนาว

  1. ไข้หวัด-ไข้หวัดใหญ่
  2. โรคปอดบวม
  3. หัด
  4. หัดเยอรมัน
  5. สุกใส
  6. อุจาระร่วง
    สำหรับโรคหัดและหัดเยอรมัน ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันแก่เด็กทั่วประเทศอยู่แล้ว โดยจะฉีดให้ในช่วงอายุ 1 ปี และ 4 – 6 ปี ส่วนโรคสุกใสปัจจุบันก็มีวัคซีนป้องกันเช่นกัน แต่เป็นวัคซีนทางเลือก ไม่ได้อยู่ในการให้บริการฟรีจากรัฐบาลเหมือนวัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องพึงระวัง
 
    เนื่องจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าภาคอื่น ๆประชากรที่อยู่อาศัยในภาคนี้จึงต้องพึงระมัดระวังสุขภาพในช่วงฤดูหนาวมากเป็นพิเศษ ส่วนประชากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและต้องระมัดระวังสุขภาพในช่วงฤดูหนาวมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต 

4 สิ่งที่ควรทำในฤดูหนาว

  1. รักษาความอบอุ่นให้ร่างกาย ด้วยเครื่องนุ่งห่ม
  2. ดื่มน้ำอุ่น ๆ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิและความชุ่มชื้นให้แก่ร่างกาย  รวมทั้งรับประทานอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายอย่างเพียงพอ เช่น อาหารจำพวกแป้ง ไขมัน
  3. ออกกำลังกายให้พอเหมาะและสม่ำเสมอ
  4. หากเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

5 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในฤดูหนาว

  1. ห้ามดื่มสุราแก้หนาว โดยเฉพาะผู้ที่ไปเที่ยวตามดอย ตามภูเขา หรือในที่ที่มีอากาศหนาวเย็น เพราะหากเมาสุราและหลับไปโดยไม่มีเครื่องนุ่งห่ม อาจเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้
  2. อย่าผิงไฟในที่อับ เช่นในห้องหรือในเต็นท์ เพราะหากมีการเผาผลาญที่ไม่สมบูรณ์ สิ่งที่จะตามมาก็คือการเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ คาร์บอนมอนอกไซด์ ผลก็คือจะทำให้เกิดการง่วงซึมและหลับ ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน
  3. ระมัดระวังอย่าให้เด็กเล็ก ๆ เข้าใกล้ควันไฟ เนื่องจากในเด็กเล็กยังมีภูมิต้านต่ำ หากให้เข้าใกล้ควันไฟ อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้  นอกจากนั้นก็ไม่ควรเอาผ้าคลุมศีรษะให้เด็กเล็ก ๆ  โดยเฉพาะบริเวณจมูกและปากด้วย เนื่องจากอาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจได้
  4. อย่านอนในที่โล่งแจ้ง ลมโกรกโดยไม่ได้สวมเสื้อผ้าป้องกัน
  5. หลีกลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และผู้ที่ป่วยก็ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่นด้วย

ภูมิแพ้-หอบหืดในฤดูหนาว

    ในฤดูหนาว อากาศที่หนาวเย็นจะทำให้ทางเดินหายใจ เยื่อบุจมูก และเยื่อบุในช่องปากค่อนข้างแห้ง เพราะฉะนั้นระบบภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคหรืออากาศก็จะลดลง คนที่เป็นภูมิแพ้ง่าย ในช่วงฤดูหนาวจึงมีอาการมากกว่าปรกติ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการหอบหืด ซึ่งควรหลีกเลี่ยงสภาวะอากาศที่เย็นจัด เพราะอาจทำให้หอบหืดกำเริบได้ และในเวลากลางคืนที่อากาศหนาวเย็น อาการก็อาจกำเริบได้เช่นกัน ซึ่งหากมีอาการกำเริบและพ่นยาหรือรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ควันไปและขี้เถ้า อันตรายจากการผิงไฟแก้หนาว
    
การหายใจเอาควันไฟและสารจากควันไฟเข้าไปในปอด จะไปกระตุ้นให้อาการหอบหืดกำเริบได้ นอกจากนั้นยังทำให้ระบบภูมิต้านทานของทางเดินหายใจลดลง ส่งผลให้ติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 
วิธีการดูแลผู้สูงอายุในฤดูหนาว
    
ในผู้สูงอายุ ร่างกายจะค่อนข้างเสื่อมถอย และในฤดูหนาวบางครั้งอาจปรับตัวไม่ค่อยได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภัยหนาวขึ้นมา ซึ่งวิธีการดูแลผู้สูงอายุก็คือหาเครื่องนุ่งห่มให้อย่างเพียงพอ อย่าพาไปอยู่ในที่ที่ลมโกรก ดื่มน้ำอุ่น ๆ และให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ขอขอบคุณ บทความดี ๆ จากเว็บไซต์ http://www.prema.or.th/

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัยพบ "กระเทียม-มะนาว" ช่วยรับรสเค็มได้ดีขึ้น แม้ใส่เกลือน้อย ระบุเพิ่มสมุนไพรไทย 25-50% ในเมนูอาหารไทย ลดปริมาณโซเดียมได้ 25% ช่วยลดปัญหาเจ็บป่วยเรื้อรัง


          น.ส.ชุษณา เมฆโหรา นักวิจัยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จากการศึกษากลิ่นรสสมุนไพรไทย 14 ชนิดต่อการรับรสเค็มในน้ำซุป ได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ โหระพา พริกขี้หนู กระเทียม พริก มะนาว หอมแดง ผักชี ต้นหอม และขิง เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกลิ่นรสของสมุนไพรไทยต่อการปรับลดปริมาณโซเดียม ในโครงการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงสมุนไพรไทย
          สำหรับการเตรียมอาหารลดโซเดียม โดยใช้เทคนิคด้านกลิ่นรสจากสมุนไพรไทย ภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายลดบริโภคเค็ม พบว่า กลิ่นรสของกระเทียมและมะนาว ช่วยเพิ่มการรับรสเค็มในน้ำซุปได้ดีขึ้น นั่นคือ แม้จะใส่เกลือปริมาณน้อย แต่ก็ช่วยให้รู้รสเค็มได้ ส่วนกลิ่นรสของพริก ผักชีฝรั่ง โหระพา ใบมะกรูด และหอมแดง เพิ่มการรับรสเค็มได้เล็กน้อย
          "จากการวิจัยนี้ได้นำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงสมุนไพร 4 รสชาติ ได้แก่ ผงปรุงรสกระเทียมและสมุนไพร ซอสผัดสไปซี่ เพลสท์ สมุนไพรไทย และผงปรุงรสแซ่บอีสาน ซึ่งนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู" น.ส.ชุษณา กล่าว
          ทั้งนี้ สถาบันฯ พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน หรือผู้ประกอบการ นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้สมุนไพรไทยเพื่อลดปริมาณโซเดียมในอาหาร โดยสถาบันฯ ยังได้ทำการทดสอบคุณสมบัติสมุนไพรไทยต่อการปรับลดโซเดียมในอาหาร 8 เมนู เช่น ต้มยำกุ้ง ขนมจีนน้ำยา ผัดกะเพราไก่ ผัดฉ่าทะเล หมูอบพริกไทยดำ ไก่ย่างสมุนไพร น้ำตกหมูและยำตะไคร้กุ้งสด พบว่า การเพิ่มสัดส่วนสมุนไพรไทยในอาหารแต่ละเมนูขึ้น 25-50% ลดเค็ม 25% จะช่วยลดปัญหาเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ

ขอขอบคุณบทความสาระดี ๆ จาก http://www.thaihealth.or.th/

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เหล้ากับทุเรียน ทำไมต้องห้าม

เหล้ากับทุเรียน ทำไมต้องห้าม !!


      ทุเรียน เป็นผลไม้ที่ให้วิตามินและแร่ธาตุ เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต การกินทุเรียนเพื่อสุขภาพ ที่ดี ไม่ควรกินทุเรียนเกิน 2 เม็ด หลังกินอาหารหลัก

      ทำไมถึงไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุเรียนมี และคาร์โบไฮเดรตสูง ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้พลังงานสูง เมื่อกินทุเรียนร่วมกับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการย่อยสลายน้ำตาลที่เนื้อเยื่อต่างๆ ที่กล้ามเนื้อและไขมันเพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นไขมันและไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูงมากกว่าปกติ ผลที่เกิดตามมาคือ การย่อยสลายทุเรียนและแอลกอฮอล์จะให้ความร้อนและเป็นกลไกที่ต้องใช้น้ำ และจะทำให้คนกลุ่มนี้มีน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลจะดึงน้ำออกมาเพื่อขับออกจากร่างกายในรูปปัสสาวะ โดยจะปัสสาวะมากแม้ว่าร่างกายขาดน้ำ 

      ที่สำคัญกินทุเรียนร่วมกับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้รู้สึกตัวร้อน ไม่สบายตัว แต่ถ้ากินมากจนเมาหลับไปร่างกายจะขาดน้ำอย่างรุนแรง เมื่อถึงจุดหนึ่งสมองจะเสียน้ำมาก ระดับ เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ สมองทำงานไม่ดี เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น อาการหน้าร้อนวูบวาบ สั่น ง่วงซึม อาเจียน คลื่นไส้ หากหมดสติและนำส่งโรงพยาบาลไม่ได้ทันอาจเสียชีวิตได้